ต้นมะเกลือ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
ต้นไม้ประจำจังหวัด | สุพรรณบุรี |
ชื่อพันธุ์ไม้ | มะเกลือ |
ชื่อสามัญ | Ebony Tree |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Diospyros mollis Griff. |
วงศ์ | EBENACEAE |
ชื่ออื่น | ผีเผา (เงี้ยว-ภาคเหนือ), มะเกลื้อ (ทั่วไป), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), มะเกีย มะเกือ (พายัพ-ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้) |
ลักษณะทั่วไป | เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกเป็นรอยแตก กิ่งอ่อนมีขนนุ่มประปราย ใบขนาดเล็ก รูปไข่หรือรูปรี ปลายสอบแคบเข้าหากัน ส่วนโคนใบกลมมน เนื้อใบบางเกลี้ยง ท้องใบเห็นเส้นใบชัด ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ผลเป็นผลสดทรงกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ |
ขยายพันธุ์ | เพาะเมล็ด |
สภาพที่เหมาะสม | ดินทุกชนิด |
ถิ่นกำเนิด | ป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป |
ดอก สุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5358 ตารางกิโลเมตร
ปลาม้า (อังกฤษ: Boeseman croaker) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesemania microlepis (/บี-ซี-มา-เนีย/ ไม-โคร-เล็พ-อิส/) ในวงศ์ปลาจวด (Sciaenidae)มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หัวค่อนข้างเล็ก หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็ก ๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้าสนแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมาก ลำตัวสีเทาอ่อนอ่อนเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำจาง ๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boesemania[2] มีความประมาณ 25–30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตรอาศัยอยู่ในแม่น้ำขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบในแหล่งน้ำนิ่งบ้าง บ่อปลา หรือบ่อกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเล พบมากในแม่น้ำตอนล่าง แต่ก็พบในแหล่งน้ำที่ไกลจากปากแม่น้ำมากเช่นกัน พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และในแม่น้ำโขงในภาคอีสานของไทย โดยพบสูงสุดถึงที่จังหวัดเลย[1] ชื่อปลาม้ามาจากการที่มีครีบหลังยาวเหมือนแผงคอของม้า[3] ขณะที่ชื่อในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลากวง"พฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่งใต้พื้นน้ำ เมื่อว่ายน้ำจะเชื่องช้า แต่จะรวดเร็วมากเวลาไล่จับเหยื่อ ในธรรมชาติชอบอาศัยในเขตน้ำลึก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าปลาม้าเป็นปลาที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสุพรรณบุรี จนถึงมีอำเภอชื่อ อำเภอบางปลาม้า เพราะความที่ในอดีตเคยชุกชุม เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมมาก มีราคาขายที่สูง และเคยพบมากในบึงบอระเพ็ด แต่สถานภาพในปัจจุบันลดลงมาก อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการจับในปริมาณที่มาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น